สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่เพียงแต่มีผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงตัวกลางหรือตัวแทนที่ค่อยเชื่อมโยงให้เกิดการซื้อขายขึ้น ซึ่งก็คือ “นายหน้าอสังหาริมทรัพย์” โดยอาชีพนายหน้านี้ถือว่าเป็นอาชีพที่ทำเงินได้รวดเร็ว จนใครๆ ก็อยากเป็นกันทั้งนั้น แต่ก่อนที่คุณจะอยากเป็นก็ต้องมีการศึกษาให้ดีก่อนว่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้น มีหน้าที่อะไร และมีประเภทอะไร ดังนั้นบทความในวันนี้ของ beautysecret24 จึงรวบรวมให้ทุกคนได้ ทำความรู้จัก นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง ซึ่งก่อนที่คุณจะทำอาชีพนี้ ก็ต้องไปรู้จักกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์กันก่อน ส่วนจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
ทำความรู้จัก นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง
สำหรับประเทศไทยมีนายหน้าด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
1. นายหน้าท้องถิ่น
สำหรับประเภทแรกคือ นายหน้าท้องถิ่น ซึ่งนายหน้าประเภทนี้เกิดขึ้นเองจากการที่ผู้ซื้อบอกความต้องการซื้อผ่านคนรู้จัก ขณะเดียวกันผู้ขายก็บอกความต้องการขายไปยังคนรอบข้าง แล้วเกิดการบอกต่อๆ กันไป เช่น เพื่อนบ้านของคุณมาบอกว่าต้องการขายบ้าน และเพื่อนร่วมงานของคุณเองก็ต้องการซื้อบ้านเช่นกัน คุณจึงนำความต้องการของทั้งสองฝ่ายมาบอกกัน จนในที่สุดเพื่อนบ้านของคุณก็ขายบ้านให้เพื่อนร่วมงานของคุณได้ โดยมีคุณเป็นตัวกลางที่ประสานการติดต่อและได้รับส่วนแบ่งจากการขายบ้านนั้น ซึ่งเท่ากับว่าคุณเป็นนายหน้าท้องถิ่นไปโดยปริยาย
ดังนั้น นายหน้าท้องถิ่นจึงมีจำนวนมากที่สุดแต่ไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหลัก โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่กว้างขวางในแต่ละพื้นที่ เช่น เพื่อนบ้าน หัวหน้าชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น ซึ่งการเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจึงทำให้มีผู้คนมาบอกต่อการซื้อขายมากขึ้น

2. นายหน้าตัวแทน
นายหน้าตัวแทน นี้เป็นตัวกลางที่คั่นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยนายหน้าประเภทนี้เป็นตัวแทนของผู้ซื้อหรือผู้ขายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรง ซึ่งตัวแทนจะได้รับมอบหมายให้เป็นคนติดต่อกับอีกฝ่าย ถ้าเป็นตัวแทนของผู้ขายก็จะเป็นคนที่ติดต่อกับนายหน้าหรือผู้ซื้อ แล้วนายหน้าตัวแทนจะได้รับส่วนแบ่งซึ่งกันเอาไว้จากส่วนแบ่งของนายหน้าอีกทีหนึ่ง โดยไม่ว่านายหน้าคนไหนจะขายได้ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่นายหน้าตัวแทนด้วย แต่ถ้าเป็นตัวแทนของผู้ซื้อก็จะเป็นตัวแทนที่ติดต่อกับผู้ขายหรือนายหน้าก็จะได้ส่วนแบ่งจากนายหน้าหรือผู้ขายเช่นกัน

3. นายหน้าโครงการ
สำหรับ นายหน้าโครงการ จัดเป็นนายหน้าวิชาชีพซึ่งทำงานภายใต้องค์กรที่เป็นบริษัทหรือนิติบุคคล โดยมีการทำงานเป็นทีม มีการบริหารงานผ่านฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น นายหน้าโครงการจะเข้ามาประจำโครงการจัดสรรต่างๆ โดยรับผิดชอบการขายโครงการให้เจ้าของโครงการนั้นๆ
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่นายหน้าโครงการมักจะเป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการขายเพียงอย่างเดียวให้กับโครงการต่างๆ ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยนายหน้าประเภทนี้จะเป็นที่รู้จักกันดี คือ พนักงานขายประจำโครงการต่างๆ นั่นเอง

4. นายหน้าโบรคเกอร์และนายหน้าสมทบ
ปิดท้ายกันด้วยหน้านายประเภทสุดท้าย คือ นายหน้าโบรคเกอร์ ซึ่งเป็นนายหน้าที่จัดตั้งบริษัทหรือจดทะเบียนนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการด้านการเป็นตัวแทนอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ โดยนายหน้าโบรกเกอร์จะไม่ได้ทำหน้าที่ออกไปติดต่อกับผู้ซื้อหรือผู้ขายด้วยตนเอง แต่มีหน้าที่บริหารจัดการด้วยการส่งพนักงานขายในสังกัดของตนเองออกไปพบลูกค้าแทน ซึ่งพนักงานขายในสังกัดนี้เรียกว่า นายหน้าสมทบ
ทั้งนี้ นายหน้าโบรคเกอร์มีทั้งที่มาจากนายหน้าอิสระหรือการซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจนายหน้าจากบริษัทโบรคเกอร์ต่างประเทศที่เข้ามาเปิดในประเทศไทย ทำให้มีประสบการณ์ และมาตรฐานการทำงานในลักษณะความเป็นวิชาชีพ ซึ่งนายหน้าโบรคเกอร์จะถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมให้แก่นายหน้าสมทบต่อๆ กันมา

เป็นอย่างไรกันบ้าง ได้ทำความรู้จักกับอาชีพ “นายหน้าอสังหาริมทรัพย์” ต่างๆ ว่ามีประเภทอะไรกันไปบ้างแล้ว ซึ่งนายหน้าบางประเภทก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง อย่างนายหน้าท้องถิ่นที่เราอาจจะรู้จักกับผู้ซื้อและผู้ขายทำให้ทั้งสองคนมาเชื่อมต่อกัน แล้วขายอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นได้ในที่สุด แต่การอยากทำอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่คุณจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาชีพเหล่านั้นด้วย ดังนั้นหากอยากเป็นจริงๆ คุณจะต้องมีการศึกษาทั้งประเภทของนายหน้า และความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รวมด้วยเช่นกัน